บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลถ่ายทอดสัญญาณ ในโครงการสัมมนาวิชาการ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2567 (Scholarship of Teaching and Learning: SoTL9)

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายไพศาล พุมดวง หัวหน้างานระบบสื่อสาร ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลถ่ายทอดสัญญาณ ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Cloud Meetingในโครงการสัมมนาวิชาการ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2567 (Scholarship of Teaching and Learning: SoTL9) ภายใต้หัวข้อ Evolving Pedagogies and Thai Higher Education ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤษภาคม 2567 อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ได้เป็นผู้ควบคุมดูแลถ่ายทอดสัญญาณช่วงเสวนาวิชาการ หัวข้อ “Trends in Global Higher Education” ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นผู้ทำหน้าที่พิธีกร และวิทยากรร่วมรายการ 2 ท่าน ได้แก่
1. Ms. Alison Johns Chief Executive, Advance HE
2. Professor Elizabeth (Liz) Johnson enior Deputy Vice-Chancellor Academic at Deakin University in Australia

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ม.วลัยลักษณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 09.00 -16.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย” ณ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 อาคารคอมพิวเตอร์ ในการอบรมครั้งนี้ วิทยากรได้แนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรที่รองรับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ หลักสูตร การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งมี 3 ส่วนย่อย คือ

Part1 การเชื่อมต่อ Wi Fi สำหรับบุคลากร ม.วลัยลักษณ์ มีรายละเอียด ดังนี้

      • พื้นฐานระบบเครือข่ายไร้สาย
      • เรียนรู้วิธีการเชื่อมต่อ SSID ประเภทต่าง ๆ
      • การแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ
      • สถิติการใช้งานของมวล.
      • ตัวอย่าง การดักจับข้อมูล Hacking Wi Fi
      • พรบ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

Part2 เรียนรู้แนวทางป้องกันภัยคุกคามจากการท่องอินเทอร์เน็ต มีรายละเอียด ดังนี้

      • ภัยคุกคามที่ใกล้ตัวและพบเจอบ่อยที่สุด
      • ประเภทของมัลแวร์
      • แนวทางป้องกันอันตรายจากการใช้งาน Internet
      • การตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างไรให้ปลอดภัย
      • การจัดการข้อมูลและการสำรองข้อมูล
      • การใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส

Part3 การใช้งานอีเมลอย่างปลอดภัย มีรายละเอียด ดังนี้

      • ความสำคัญของความปลอดภัยทางอีเมล
      • ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบบ่อยผ่านทางอีเมล
      • พื้นฐานการใช้งานอีเมลอย่างปลอดภัย
      • การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง
      • การใช้การยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน (Two-Factor Authentication)
      • การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในบัญชีอีเมล
      • การระบุและจัดการกับอีเมลที่น่าสงสัย
      • สัญญาณของอีเมลฟิชชิ่ง (Phishing)
      • การจัดการกับอีเมลขยะ (Spam)
      • การตรวจสอบลิงก์และไฟล์แนบในอีเมลก่อนคลิกหรือดาวน์โหลด

การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ จากศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล คือ นายชณวัฒน์ หนูทอง นายสุริยะ เมืองสุวรรณ  นายวิศิษฏ์ เรืองพรหม นายวิเชียร จุติมูสิก นายวิชชุกร ด่านเดชา นายอวยชัย บุญญวงศ์ ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล  มีบุคลากรเข้าร่วม จำนวน 14 คน โดยวิทยากรแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรที่รองรับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เสริมทักษะดิจิทัลบุคลากร ผ่านหลักสูตร “การใช้งานเว็บไซต์อย่างปลอดภัย” รุ่นที่ 2

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล โดย ICT Academy มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การใช้งานเว็บไซต์อย่างปลอดภัย” รุ่นที่ 2 มุ่งเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลให้กับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย

การอบรมในครั้งนี้ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักวิธีการใช้งานเครือข่าย WU.net ของมหาวิทยาลัยอย่างปลอดภัย ครอบคลุมทั้งการเข้าใช้งานระบบเครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi) การเข้าใช้งานเครือข่ายผ่าน Access Point ด้วย Service Set Identifier (SSID) ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เรียนรู้วิธีการเชื่อมต่อ SSID อย่างถูกต้อง รวมไปถึงวิธีการใช้งานเว็บอย่างปลอดภัยจาก Phishing  และการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่อาจเกิดขึ้น

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นำทีมโดย นายชณวัฒน์ หนูทอง นายสุเทพ น้อยลัทธี และนายสุริยะ เมืองสุวรรณ มอบความรู้และประสบการณ์จริงแก่บุคลากรจำนวน 5 คน การอบรมหลักสูตรนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งสู่การเป็น Digital University ในอนาคตอันใกล้นี้

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรม “การคำนวณต้นทุนการผลิตบัณฑิตผ่านระบบ SAP” เสริมสร้างความรู้แก่อาจารย์และนักวิชาการ

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตร “การคำนวณต้นทุนการผลิตบัณฑิตผ่านระบบ WUMIS (SAP)” ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 อาคารคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รองศาสตราจารย์ ดร. สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี ดร.ศศิรัศมิ์ ประสาทแก้ว เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ระดับชำนาญการ ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ เป็นวิทยากรหลัก ร่วมด้วย นางสาวชฎารัตน์ แสงนิล ซีเนียร์โปรแกรมเมอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าร่วมเป็นผู้ช่วยวิทยากร

กิจกรรมอบรมครั้งนี้ มุ่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูรายงานการคำนวณต้นทุนการผลิตบัณฑิตผ่านระบบ WUMIS (SAP) ให้แก่ อาจารย์และนักวิชาการจากสำนักต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ระบบ WUMIS (SAP) เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและการเงินของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งช่วยให้สามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตบัณฑิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ์และพัฒนาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไป

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ม.วลัยลักษณ์ จัดซุ้มอาหารเข้าร่วมกิจกรรม “วลัยลักษณ์สงกรานต์สืบสานประเพณี ประจำปี ๒๕๖๗”

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกิจกรรม “วลัยลักษณ์สงกรานต์สืบสานประเพณี ประจำปี ๒๕๖๗” ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐–๑๒.๐๐ น. ณ อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

วันนี้ (๑๘ เมษายน ๒๕๖๗ ) บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมร่วมกิจกรรม “วลัยลักษณ์สงกรานต์สืบสานประเพณี ประจำปี ๒๕๖๗” เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามเนื่องในวันสงกรานต์ที่แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนรายรอบผ่านงานกิจกรรมสัมพันธ์ในครั้งนี้

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การใช้งานโปรแกรม UniXcape Mobile App”

วันนี้ (วันพุธที่ 10 เมษายน 2567) เวลา 09.00-12.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล โดย ICT Academy มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การใช้งานโปรแกรม UniXcape Mobile App’’ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 อาคารคอมพิวเตอร์

 การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การติดตั้งและการใช้งานระบบโทรศัพท์เบื้องต้นผ่านโปรแกรม UniXcape Mobile App ซึ่งเป็นโปรแกรมจัดการเลขหมายโทรศัพท์สำนักงานบนมือถือ สามารถใช้งานได้สะดวก ง่าย ไม่มีค่าใช้จ่าย เมื่อโทรหาเลขหมายหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ทำให้ผู้ใช้งานโปรแกรม UniXcape Mobile App มีสัญญาณเรียกสายการติดต่อเมื่อไม่อยู่ที่โต๊ะทำงาน โดยเนื้อหาหลักสูตรมีดังนี้

  1. แนะนำระบบโทรศัพท์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  2. แนะนำ UniXcape App การติดตั้งและ Download App สำหรับ iOS/Android
  3. เรียนรู้การใช้งาน การจัดการ User และทดสอบการใช้งาน

มีบุคลากรสนใจเข้าร่วมการอบรมจาก 29 หน่วยงาน จำนวน 33 คน โดยได้รับเกียรติจาก นายไพศาล พุมดวง  นายช่างเทคนิค ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นวิทยากรในการอบรม

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำระบบตรวจข้อสอบอัตนัยอัตโนมัติด้วย AI มาใช้จริงครั้งแรก . . .

5 เมษายน 2567 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป นำระบบตรวจข้อสอบอัตนัยอัตโนมัติด้วย AI ผ่านระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จริงเป็นครั้งแรกในรายวิชานำร่อง GEN64-112 เทคนิคการสื่อสารในสังคมร่วมสมัย ระบบ AI ตรวจข้อสอบอัตโนมัตินี้ ช่วยยกระดับการสอบแบบออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร (ผู้ช่วยอธิการบดี) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว (ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล) ดูแลการเตรียมความพร้อมก่อนวันสอบและในวันสอบจริง พร้อมด้วย

  • ทีมพัฒนาระบบ นางนวพร ไชยเสน และนางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด ฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ
  • เตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ใช้สอบ โดยฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล
  • เตรียมความพร้อมเครื่องแม่ข่ายและระบบเครือข่าย WiFi โดยฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
  • ทีมอาจารย์ผู้ร่วมจัดทำข้อสอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยชาติ สึงตี (รักษาการแทนรองคณบดี) อาจารย์เมธัส ศิริวัฒน์ อาจารย์ศิริพร แทนสุวรรณ และอาจารย์กฤษฎา กันติชล สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป

การสอบในวันนี้มีนักศึกษาเข้าสอบทั้งสิ้น 1,040 คน เป็นการสอบในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 10 ห้อง และสอบผ่าน iPad/iPhone ในห้องบรรยายอีก 12 ห้อง การจัดสอบดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย การนำระบบ AI ตรวจข้อสอบอัตโนมัติมาใช้นี้ ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ขอขอบคุณ ศูนย์บริการการศึกษา ที่อำนวยความสะดวกในเรื่องกระบวนการจัดสอบ ขอขอบคุณสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป ที่ร่วมจัดทำข้อสอบในโครงการนำร่อง และขอขอบคุณคณะกรรมการคุมสอบทุกท่าน

 

ภาพบรรยากาศในการสอบ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ภาพบรรยากาศในการสอบ ณ ตึก ST

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เสริมทักษะดิจิทัลบุคลากร ผ่านหลักสูตร “การใช้งานเว็บไซต์อย่างปลอดภัย”

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล โดย ICT Academy มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การใช้งานเว็บไซต์อย่างปลอดภัย” รุ่นที่ 1 มุ่งเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลให้กับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย 

ารอบรมในครั้งนี้ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักวิธีการใช้งานเครือข่าย WU.net ของมหาวิทยาลัยอย่างปลอดภัย ครอบคลุมทั้งการเข้าใช้งานระบบเครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi) การเข้าใช้งานเครือข่ายผ่าน Access Point ด้วย Service Set Identifier (SSID) ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เรียนรู้วิธีการเชื่อมต่อ SSID อย่างถูกต้อง รวมไปถึงวิธีการใช้งานเว็บอย่างปลอดภัยจาก Phishing  และการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่อาจเกิดขึ้น

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นำทีมโดย นายชณวัฒน์ หนูทอง นายสุเทพ น้อยลัทธี และนายสุริยะ เมืองสุวรรณ มอบความรู้และประสบการณ์จริงแก่บุคลากรจำนวน 11 คน การอบรมหลักสูตรนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งสู่การเป็น Digital University ในอนาคตอันใกล้นี้

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คว้ารางวัลชนะเลิศการนำเสนอดีเด่น

ประกาศนียบัตร

นางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) คว้ารางวัลชนะเลิศการนำเสนอดีเด่นภาคบรรยาย ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ “The National Conference on Routine to Research (R2R) for High Performance Organization 2024” เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 32 แบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting

งานประชุมวิชาการครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนมีสมรรถนะและมีความก้าวหน้าทางอาชีพ สามารถปรับตัวได้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง และมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางสาวจุฬาพร ได้นำเสนอบทความวิจัยชื่อ “การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษาไปยังรายวิชาในระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ซึ่งระบบนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ และช่วยให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียนเรียนได้สะดวก รวดเร็ว รางวัลชนะเลิศการนำเสนอดีเด่นภาคบรรยายครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร และสร้างประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและสังคมต่อไป

เกี่ยวกับศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีหน้าที่หลักในการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแก่หน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย พัฒนาและดูแลระบบสารสนเทศ บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไอที และระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมไปถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน การวิจัย และงานบริการต่างๆ

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลถ่ายทอดสัญญาณ ในพิธิเปิดงานและควบคุมการถ่ายทอดสัญญาณการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2567

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายไพศาล พุมดวง หัวหน้างานระบบสื่อสาร  ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลถ่ายทอดสัญญาณ ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting ในพิธิเปิดงานและควบคุมการถ่ายทอดสัญญาณการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2567 Walailak Research Convention 2024 ครั้งที่ 3 Theme “Roles of Higher Education in the Turbulent World ระหว่างวันที่ 27 – 29 มีนาคม 2567 ณ ห้องภัทรธรรมาภรณ์ ชั้น 9 โซน B โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์